วันศุกร์ที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2550

การดูงานที่ NOK

การศึกษาดูงานที่บริษัท NOK precision component (ประเทศไทย)จำกัด ที่ นิคมอุสาหกรรมบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เมื่อวันที่ 9 ตุลาคม 2550
พวกเราเดินทางมาถึงบริษัท NOK ในช่วงบ่ายโมง แล้วเข้าห้องฟังบรรยายสรุปทันที โดยมี คุณสราวุฒิ พันธุ์ภุชงค์ ผู้จัดการฝ่าย IT และประธานคณะกรรมการ KM หรือ CKO ของบริษัทมาให้การต้อนรับ แล้วได้เล่าถึงเรื่องราวในบริษัทให้พวกเราฟัง สรุปสั้น ๆ คือ บริษัทนี้ เริ่มก่อตั้งเมื่อปี 2544 โดยเริ่มดำเนินการผลิตส่วนประกอบของฮาร์ดดิสก์ไดร์ฟ และชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์หลักที่บริษัทนี้ผลิต ปัจจุบันมีพนักงานกว่า 896 คน บริษัทนี้กำหนดวิสัยทัศน์ไว้ว่า จะก้าวไปสู่การเป็นบริษัทชั้นนำระดับโลก ในธุรกิจการผลิตในส่วนอิเล็กทรอนิกส์ ที่มีความเที่ยงตรงสูง และมีวัฒนธรรมองค์กร 10 ข้อ ดังนี้
1. กล่าวคำทักทาย แต่งกายเรียบร้อย และตรงต่อเวลา
2. ความปลอดภัยต้องมาก่อน
3. รักษาความสะอาดและพร้อมใช้งานด้วยหลักการ 5 ส.
4. ใฝ่ใจในการเรียนรู้
5. เปิดใจกว้าง มองโลกในแง่ดี และตอบสนองอย่างว่องไว
6. ทำงานเป็นทีม ด้วยการประสานใจเป็นหนึ่งเดียว
7. ข่าวสารข้อมูลต้องแบ่งปันและทันสมัย
8. ใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด
9. แก้ปัญหาโดยค้นหาความจริงจากสถานที่นั้น
10. คิดสร้างสรรค์ ขยันพัฒนา ก้าวหน้าในทางเดียวกัน
สำหรับกระบวนการถ่ายทอดความรู้ NOK มีระบบการถ่ายทอดความรู้ที่ใครเห็นอะไร รู้อะไร ใครเจอ อะไรดี ๆ แล้วนำมาถ่ายทอดในรูปแบบเรียกว่า “OPL” (One Point Lesson) เป็นการสอนแบบสั้น ๆ โดยผู้รู้ เขียนลงบนกระดาษแผ่นเดียว อาจเป็นหัวหน้าสอนพนักงาน เพื่อสอนเพื่อนก็ได้วิธีการคือ จะมีใบงานที่เป็นแบบฟอร์มง่าย ๆ เพื่อให้กรอกข้อมูลเกี่ยวที่จะต้องสอนงานโดยให้เป็นการสอนแบบหนึ่งคนต่อหนึ่งคน วนกันไปเรื่อย ๆ จนคนสุดท้ายจะกลับมาสอนคนแรก คนแรกก็จะทราบได้ว่าทุกคนมีความรู้ในเรื่องนั้น ทัดเทียมกันหรือไม่ ตกหล่นอะไรหรือมีอะไรที่เพิ่มขึ้น นอกจากในรูปแบบ “OPL”แล้วยังมีรูปแบบของ“วิทยากรภายใน (Internal Instructor)”โดยพนักงานผู้ที่มีความรู้ความชำนาญเฉพาะเรื่องถ่ายทอดความรู้ให้กับเพื่อนร่วมองค์กร เป็นต้น ซึ่งเป็นการถ่ายทอดความรู้และพัฒนาความรู้ของตนอยู่เสมอ
สิ่งที่น่าสนใจสิ่งหนึ่งของที่นี่ คือ ทุกนโยบายมีแนวทางในการนำไปปฏิบัติ มีการตั้งคำขวัญประจำแผนกเพื่อให้เกิดการกระตุ้นในการทำงาน เช่น แผนก HR มีคำขวัญว่า Service is Our Mind
เป้าหมายของบริษัทไม่ใช้กำไรสูงสุด แต่เป็น 4 Zero ซึ่งก็คือ
Zero Accident = ไม่มีอุบัติเหตุ
Zero Break down = ไม่มีการชำรุดของอุปกรณ์
Zero Claim = ไม่มีข้อร้องเรียน
Zero Defect = ไม่มีข้อผิดพลาด
ใน NOK มีเครื่องมือคุณภาพที่หลากหลาย อาทิ 5 ส TPM TEM(Total Energy Management) EMP (Environment Management Plan) KAIZEN TCD (Total Cost Down) และ PIZ (Process Idle Zero) เป็นต้น แต่ทุกเครื่องมือสามารถนำมาใช้ร่วมกันได้อย่างสอดคล้องและไม่เป็นอุปสรรคต่อกันและกัน ด้วยการ Empower Employees ผ่านกิจกรรมของกลุ่มย่อยที่เรียกว่า SGA (Small Group Activity) มีนโยบายจูงใจ เช่น ในระบบ KAIZEN กำหนดนโยบายให้เสนอเรื่องที่จะพัฒนา 2 เรื่องต่อปี ต่อคน มีการสะสมแต้ม แลกของรางวัล
NOK ใช้ระบบโรงงานโปร่งใส (Transparency Factory) คือ ทุกคนสามารถ Share Information ด้วยกันได้ ซึ่งเป็นข้อมูลเดียวกัน และ Real time เช่น เวลาประชุมจะใช้ข้อมูลจากระบบกลาง ซึ่งจะลดปัญหาแต่ละฝ่ายมีข้อมูลที่ไม่ตรงกัน
มีการ Balance Human and System กล่าวคืองานที่ไม่เกิดคุณค่า(Value) จะไม่ให้พนักงานทำ เช่น งานถ่ายเอกสารจะได้นักศึกษาฝึกงานทำ หรืองานบัญชี เอานักศึกษาฝึกงาน และพนักงาน..มาทำ และปรับพนักงานบัญชีเป็นผู้ตรวจสอบ(Auditor) แทน หรือใช้ระบบ computer มาช่วยงานคน
สำหรับคำถามยอดฮิตที่ว่าทำ KM เพื่ออะไร นั้น คำตอบของ NOK คือเพื่อเพิ่มผลผลิตตามแนวทาง PQCDESME
P เพิ่มผลผลิต
Q เพิ่มคุณภาพ
C ลดต้นทุน
D แก้ไขปัญหาส่งมอบงานได้ทันเวลา
S มีความปลอดภัย
M มีความรู้และทักษะที่ดีขึ้น
E รักษาสิ่งแวดล้อม

ตัวแบบ KM ของ N.O.K.
KM ที่ดีจะต้องไม่เป็นการเอาตัวแบบของคนอื่นมาทำ แต่ต้องออกแบบให้สอดคล้องกับขององค์กรเราเอง
การ Transfer Knowledge to people
1. Traning มากกว่า 100 course
- Team Working
- IT Traning
- English Languge and TOFIC Test กลุ่มไหนผ่านแบบมีเงินพิเศษรายเดือน
- Japanese Traning มีเงินเพิ่ม
2. สภาพแวดล้อมการทำงาน
3. สื่อสารในองค์กร
4. กิจกรรมต่าง ๆ 5 ส. KAIZEN
5. SGA Small Group Activity มีพนักงาน 800 คน - แบ่งเป็น 61 กลุ่ม
เช่น กลุ่มคนสวน คนขับรถ มีการสร้างห้องประชุมให้กลุ่ม ให้เวลากลุ่ม มีทรัพยากรสนับสนุนในการทำ KM ใน 1 ปี ให้ present 2 ครั้ง
6. Master Programm คนส่งไปเรียนต้องกลับมาสอนได้
7. International Standard ISO, Officer
8. Customer Regesment\
9. Problem Solving
10. Outside Visit
11. QCC
Knowledge Asset การจัดเก็บความรู้จากงาน ใช้หลัก 4 S Select Share Show Search

การวัดผล KM
- ค่าที่พนักงานทำได้ต่อหัวเพิ่มขึ้น
- ข้อทักท้วงจากจากลูกค้าลดลง
- ลดต้นทุนการผลิตต่าง ๆ
- ส่งของลูกค้าทันเวลา
- พนักงานลาออกน้อยลง
ทำ KM มา 4 ปี ด้วยนโยบาย ยิ่งให้ ยิ่งได้รับ ส่งผลให้
มีบัตรโตขึ้น 74 % ทุนจดทะเบียนจาก 258 ล้านบาท เป็น 1,738 ล้านบาท
ROA Return of Asset จาก - 7% - 25.2%
หุ้นจาก 1,000 - 3,246




ภายหลังจากเดินทางบริเวณบริษัทจนทั่วแล้ว คุณสุรพงษ์ ศุภจรรยา ผู้จัดการทั่วไป สรุปเรื่องของ KM เป็นแผนภาพง่าย ๆ ได้ดังนี้













หลังจากนั้นพวกเราก็ได้หอบความรู้และประสบการณ์ที่ดีกลับบ้านอย่างมีความสุข จึงขอขอบพระคุณ คุณสุรพงษ์ ศุภจรรยา คุณสราวุฒิ พันธุ์ภุชงค์ และพนักงานทุกคนของบริษัท NOK precision component (ประเทศไทย)จำกัด อย่างสูงมา ณ โอกาสนี้

วันศุกร์ที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2550

อยู่กับเทคโนโลยี

ทุกวันนี้เทคโนโลยีในด้าน ๆ กลายเป็นส่วนประกอบที่สำคัญในการดำรงชีวิต ซึ่งนอกจากความสะดวกสบายที่เราได้รับแล้ว เมื่อสังเกตอย่างลึกซึ้ง ไม่น่าเชื่อว่า พฤติกรรมในการดำรงชีวิตของมนุษย์ ได้เปลี่ยนไปอย่างมาก แต่ที่ร้ายกว่านั้น บางอย่างที่มนุษย์ได้รับการพัฒนามากกำลังจะถูกทำลายได้ด้วยเทคโนโลยี ขอยกตัวอย่างที่พอจะเห็นเด่นชัด 2 อันก่อน คือ ความรับผิดชอบ และประสิทธิภาพในการตัดสินใจ
ในเรื่องความรับผิดชอบ นั้น เมื่อย้อนไปในอดีต ตั้งแต่ระบบโทรศัพท์ธรรมดา ยังไม่แพร่หลายบางคนจะเจอกันต้องใช้จดหมายในการนัดกัน ก่อนถึงวันนัดสัก 2 วัน ต้องวางแผนดี ๆ แล้ว เพราะหากไปไม่ทันหรือไม่ไปก็ไม่รู้จะบอกกันอย่างไร ต่อมาพอระบบโทรศัพท์ตามบ้านแพร่หลาย ก็อาจเปลี่ยนแปลงล่วงหน้าได้สัก 1 วัน หรือ 6-7 ชั่วโมงก่อนเวลานัด จนปัจจุบันนัดใครหากไปไม่ได้ตอนตื่นเช้าเราก็ค่อยโทรบอก หรือนัดแล้วตื่นสาย ออกช้านิดก็โทรบอกบนรถได้
ส่วนการตัดสินใจ นั้น ในสมัยที่เทคโนโลยีสารสนเทศ ยังไม่เพียบพร้อมและทันเวลา ผู้บริหารต้องใช้ความสามารถอย่างสูงในการคาดการณ์ การพยากรณ์ การตัดสินใจ การเตรียมรับมือกับการตัดสินใจที่ผิดพลาด แต่ปัจจุบัน ใช่ว่าผู้บริหารจะไม่เก่ง แต่ด้วยข้อมูลที่เพียบพร้อม ทำให้การตัดสินในง่ายขึ้น การคิดวิเคราะห์อาจจะน้อยลง(เพราะมีคนหรือระบบวิเคราะห์ให้แล้ว) โอกาสพบความเสี่ยงต่ำ แทบไม่ต้องเตรียมการแก้ปัญหา เปรียบได้กับสมัยก่อน เราจะคิดเลขได้เร็ว มีวิธีลัดมากมาย พอเครื่องคิดเลขแพร่หลายและมีขนาดเล็กลง เราก็แทบจำวิธีต่าง ๆ เหล่านั้นไม่ได้เลย บางที่แค่ 38 คูณ 9 ยังแทบแย่
ดังนั้น ในโลกปัจจุบัน นอกจากเราจะต้องปรับตัวให้เข้ากับเทคโนโลยีต่าง ๆ แล้ว เรายังคงจะต้องหาแนวทางที่จะไม่ทำให้สิ่งดี ๆ ต่าง ๆ ที่ติดอยู่กับเรามาพร้อมกับความเป็นมนุษย์ถูกทำลายทางอ้อมโดยเทคโนโลยีด้วย